การแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

เมื่อพูดถึงเรื่องโบราณคดีคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้นกำเนิดจริงๆก็คือสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์อย่างไร

แล้วทำไมต้องมีการแบ่ง เป็นเพราะว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการดำรงชีวิตมากมายทั้งการคิดค้นเครื่องมือในการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านการพักอาศัยเพื่อการดำรงชีพ การทำอาวุธเพื่อล่าสัตว์ หรือแม้กระทั่งในด้านพิธีกรรมต่างๆ และในประเทศไทยมีการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้หลากหลายวิธีเป็นจำนวนมาก

การแบ่งนั้นมียุคอะไรบ้าง ในแต่ละยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการแบ่งได้หลากหลาย แต่ในประเทศไทยนั้นมีการแบ่งทางสังคมมีอยู่สองแบบคือ หนึ่งคือสังคมล่าสัตว์และหาของป่าตามธรรมชาติ(Hunting-gathering) ซึ่งส่วนใหญ่มีตั้งแต่สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง และสองคือสังคมเกษตรกรรม(Agricultural Society) มีตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด และสมัยเหล็กซึ่งสมัยเหล็กนั้นเป็นสมัยสุดท้ายของยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในแต่ละยุคนั้นมียุคตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร ในยุคสังคมที่เป็นสังคมแห่งการล่าสัตว์และหาของป่าธรรมชาตินั้นมีดังนี้คือ ในสมัยหินเก่า(Paleolithic) ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ 400000 - 600000 ถึง 10000 ปีมาแล้ว ต่อมาในสมัยหินกลาง(Mesolithic) ระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ 10000 ถึง 4500 ปีมาแล้ว ในยุคสังคมเกษตรกรรมนั้นมีการแบ่งยุคเช่นกันมีดังนี้คือ ในสมัยหินใหม่(Neolithic) ระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ 4500 ถึง 3500 ปีมาแล้ว ต่อมาในสมัยสำริด(Bronze) ระยะเวลาตั้งแต่ 3500 ถึง 2500 ปีมาแล้ว และสุดท้ายคือในสมัยเหล็ก(Iron) ระยะเวลาตั้งแต่ประมาณ 2500 ถึง 1500 ปีมาแล้ว

ใช้อะไรในการกำหนดการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตามปกติแล้วจะมีการกำหนดโดยใช้วิธีการวัดอายุของโบราณวัตถุต่างๆว่าอยู่ในยุคใด และมีการสำรวจเพื่อหาความเป็นไปได้ว่ายุคนั้นมีการดำรงชีวิตอย่างไรถึงกับค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อีกด้วย

ในตอนนั้นมีใครศึกษาบ้าง ในยุคแรกนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นนักโบราณคดีที่เป็นชาวต่างประเทศบ้างเป็นนักโบราณคดีที่เป็นชาวไทยบ้างซึ่งจะต้องใช้ศาสตร์ทั้งทางมานุษยวิทยา ด้านธรณีวิทยา หรือแม้กระทั่งนักประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นต้น

แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์นั้นส่วนมากอยู่ที่ใด ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วมีการค้นพบว่าโครงกระดูกและอุปกรณ์เครื่องใช้ของคนในยุคนั้นจะอยู่ในแทบภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทบทั้งหมดโดยพบมากในแถบพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในเขตรอบนอกเมืองโดยเฉพาะที่ค้นพบในเขตพื้นที่ระหว่างอำเภอบ้านแฮดไปจนถึงอำเภอบ้านไผ่ โดยเฉพาะแหล่งโบราณคดีเมืองเพีย และอีกแหล่งอยู่ที่อำเภอชุมแพ ที่เป็นแหล่งโบราณคดีโนนเมือง

แม้ว่าในประวัติศาสตร์จะเป็นเช่นไรแต่การแบ่งยุคนั้นก็พิสูจน์ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์พอแบ่งยุคแล้วก็ทำให้เราเข้าใจเลยว่ายุคในตอนนั้นเป็นอย่างไรและสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นอีกหลายเท่าตัว

เอกสารอ้างอิง

บ้านจอมยุทธ. (2543). การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561 จาก https://www.baanjomyut.com/library/era_thailand.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การหาค่าอายุวัตถุโบราณด้วยคาร์บอน-14

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์