ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์


เมื่อนึกถึงโบราณวัตถุที่พูดถึงและมีชื่อเสียงในทางประวัติศาสตร์มากที่สุดนั้น ก็คงหนีไม่พ้นทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เพราะโบราณวัตถุชิ้นนี้มีความสวยงามที่สุดในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นโบราณวัตถุชิ้นที่ครั้งหนึ่งเคยถูกโจรกรรมไปโดยชาติมหาอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกาจนถึงขั้นประเทศไทยเกิดการเรียกร้องและสามารถทวงสมบัติของชาติกลับมาได้สำเร็จเป็นชิ้นแรกอีกด้วย

ที่ตั้งของทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นส่วนหนึ่งของโบราณวัตถุซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ณ ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตอนถูกโจรกรรมในอดีตนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

สร้างเพื่อถวายอะไร ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้นสร้างเพื่อถวายพระนารายณ์และนอกจากนี้ยังถูกสร้างเพื่อเป็นการบรรทมในช่วงการสร้างโลก ณ ขณะนั้น และแต่ละครั้งในการบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้นขึ้นอยู่กับเวลาในแต่ละกัลป์ และนอกจากนี้ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้นยังได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์วราหปุราณะ ซึ่งคัมภีร์นั้นให้ความสำคัญต่อพระนารายณ์ที่เชื่อว่าพระนารายณ์นั้นเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่

อายุสมัยของทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังชิ้นนี้นั้นได้สันนิษฐานว่าอายุสมัยในยุคอาณาจักรขอมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15

อะไรคือความน่าสนใจในทางโบราณคดี ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้นมีความน่าสนใจตรงที่มีการแกะสลักตามความเชื่อของอาณาจักรขอมและนอกจากนี้นั้นยังสร้างเพื่อการบรรทมในแต่ละครั้งของพระนารายณ์ ในทางโบราณคดีนั้นถือว่าเป็นโบราณวัตถุที่สวยงามที่สุดในโลกและยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมอีกด้วย


ทำไมถึงถูกโจรกรรมและทวงคืนกลับมาได้อย่างไร ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้นถูกโจรกรรมนับตั้งแต่ที่สหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาทำสงครามเวียดนามและมาตั้งฐานทัพในประเทศไทยจากนั้นเมื่อความอยากได้ของมนุษย์นั้นและความหวาดกลัวในเรื่องทฤษฏีโดมิโนที่กำลังทวีความรุนแรงนั้นและนอกจากนี้สงครามเวียดนามก็ทวีความรุนแรงขึ้นมาอีกขั้นทำให้กลุ่มคนซึ่งเป็นชาวอเมริกันนั้นตัดสินใจโจรกรรมทับหลังนารายณ์ขึ้นมาในปี พ.ศ.2503 และจากนั้นก็ไปพบอีกทีในตลาดมืดและจากนั้นก็ไปโผล่อีกทีอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา การทวงคืนเริ่มขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อนในช่วง ณ ขณะนั้น เริ่มจากที่ประเทศไทยนั้นโดยคณะของกรมศิลปากรนั้นซึ่งนำทีมการทวงคืนโดย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลซึ่งเป็นบุคคลแรกที่เห็นทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์และจากนั้นก็เริ่มมีการทวงคืนแรกๆนั้นมีการส่งหนังสือเพื่อขอทวงคืนทับหลังชิ้นนี้แต่ไม่ได้ผล จากนั้นก็มีการประท้วงของคนไทยที่อาศัยอยู่ในนครชิคาโก และหลังจากนั้นก็มีปรากฎการณ์ในประเทศไทยโดยเฉพาะวงคาราบาวซึ่งได้แต่งเพลง"ทับหลัง"ในช่วงปี พ.ศ.2531 เพื่อเป็นสื่อกลางในการทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ชิ้นนี้และทำให้คนไทยทั้งประเทศนั้นได้หวงแหนสมบัติของชาติชิ้นนี้อีกด้วย การทวงคืนสำเร็จเกิดขึ้นโดยทางกรมศิลปากรนั้นได้นำหลักฐานซึ่งเป็นรูปภาพทับหลังนั้นมายืนยันกับเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์และในที่สุดก็ทวงคืนสำเร็จจนได้

ทวงคืนมาได้อย่างไรและปัจจุบันตั้งอยู่ที่ใด การทวงคืนนั้นเริ่มขึ้นหลังจากที่เห็นทับหลังถูกโจรกรรมในช่วงสงครามเวียดนาม และการทวงคืนแรกเริ่มโดยการเจรจานั้นไม่สำเร็จเพราะทางพิพิธภัณฑ์อ้างกรรมสิทธิ์และยังให้ประเทศไทยนั้นต้องเป็นสมาชิกแห่งองค์กรแห่งวัฒนธรรมนานาชาติเสียก่อนในช่วงนั้นเพื่อเป็นการต่อรอง จากนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้ทวงทับหลังชิ้นนี้กลับมานั้นโดยมีการนำหลักฐานมาแสดงเพื่อยืนยันว่าทับหลังที่ถูกโจรกรรมไปนั้นเป็นของประเทศไทย และมีการนำทับหลังชิ้นนี้นั้นนำไปขึ้นเครื่องบินของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์จากเมืองชิคาโกมุ่งสู่สนามบินดอนเมืองและพอทับหลังมาถึงนั้นก็มีการนำกลับมาถึงปราสาทเขาพนมรุ้งอีกครั้งและทันการพอดีกันกับพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งจึงทำให้กลายเป็นประวัติศาสตร์ว่าคนไทยสามารถทวงคืนสมบัติของชาติจากประเทศมหา่อำนาจได้สำเร็จ ปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ณ จังหวัดบุรีรัมย์

ครั้งหนึ่งทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ชิ้นนี้นั้นเคยถูกโจรกรรมเพราะความโลภของมนุษย์เพราะแค่ความสวยงามของโบราณวัตถุชิ้นนี้ แต่บัดนี้ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ชิ้นนี้นั้นยังคงสงางามในด้านโบราณคดีและทำให้คนไทยนั้นได้มีความหวงแหนสมบัติของชาติและได้จารึกในประวัติศาสตร์เพื่อรุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดและชื่นชมโบราณวัตถุชิ้นนี้ต่อไปในอนาคตสืบไป 

เอกสารอ้างอิง
วิกิพีเดีย (2557). ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การหาค่าอายุวัตถุโบราณด้วยคาร์บอน-14

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

Welcome to new blogs